Wednesday, December 8, 2010

Learning Journal Week 5

By Darin Engkawong 5202113147
Productivity Paradox หมายถึงความไม่สอดคล้องกันระหว่างความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์(ซึ่งเพิ่มขึ้นแบบ exponential) กับระดับ Productivity ของระบบเศรษฐกิจที่กลับเติบโตอย่างเชื่องช้า
สาเหตุของProductivity Paradoxได้แก่
v หาข้อมูลเกี่ยวกับProductivity Gains เพื่อนำมาวิเคราะห์ได้ยาก
v Productivity Gains ถูกชดเชยด้วยการขาดทุนในส่วนอื่นๆ
v Productivity Gains ถูกหักล้างด้วยต้นทุนที่สูงในการติดตั้ง
v เกิดปัญหาเรื่อง Time Lag
Impact
v  Direct Impact เช่น ต้นทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย
v  Second Order Impact เช่น เพิ่ม Market Share การได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ การบริการลูกค้าที่ดีขึ้น

Why justify IT Investments
เนื่องจากการมีเงินทุนที่จำกัด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องประเมินผลประโยชน์จากการลงทุนทาง ITให้เป็นเชิงปริมาณได้มากที่สุดเพื่อให้สามารถลงทุนได้
ขั้นตอนการ Justify
1.              หาหลักการวิเคราะห์ที่เหมาะสม
2.              ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม โดยใช้เกณฑ์ที่เป็น Objective
3.              พิจารณา และระบุสมมติฐานเกี่ยวกับต้นทุน และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4.              ระบุเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณ รวมไปถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยง
5.              การลงทุนดังกล่าวสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของบริษัทหรือไม่
6.              ไม่ประเมินต้นทุนต่ำเกินไป และไม่ประเมินผลประโยชน์ให้สูงเกินไป

ความยากในการวัด Productivity และ Performance Gain
v  ระบุเกณฑ์ มาตรวัด ไม่ถูกต้องเหมาะสม
v   Time Lag
v  หาความสัมพันธ์ระหว่าง การลงทุนด้านIT กับ ผลการดำเนินงานขององค์กรได้ยาก

การวัดต้นทุนของ IT Investment
v  ประเด็นหลักคือการแบ่งสันปันส่วนต้นทุนคงที่ (Fixed Cost)
v  Infrastructure cost
v  Service management cost
v  Transaction Cost
v  Search
v  Information
v  Negotiation
v  Decision
v  Monitoring
Cost
v Development cost
v Set up cost
v Operational cost
Benefit
v Direct benefit
v Assessable indirect benefit
v Intangible benefit

วิธีการวิเคราะห์ Cost-Benefit
v Net Profit หรือผลต่างระหว่างต้นทุน และรายได้โดยตรง เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่ไม่ได้คำนึงถึง Time Value of Money และจะเปรียบเทียบยาก หากมี Net Profit ที่เท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน
v Payback Period หรือระยะเวลาคืนทุน เป็นระยะเวลาที่ผลตอบแทนที่ได้รับทั้งหมดเท่ากับต้นทุนที่เสียไป แต่ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือ ขาดการคำนึงถึง Time Value of moneyไม่ได้มองว่า Cash Flow ในแต่ละปีจะเป็นเท่าไร
v Return on Investment (ROI) เป็นการเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ได้เฉลี่ยในแต่ละปี กับเงินลงทุนที่ใช้ไป
v Net Present Value (NPV) วิธีนี้เป็นการคำนวณผลตอบแทนที่จะได้รับทั้งหมด โดยที่มีการคิดลดให้เป็น Present Value ตาม Discount Rate ที่กำหนด การใช้วิธีนี้อาจจะเป็นปัญหาในการเปรียบเทียบโครงการที่มีอายุต่างกัน หรือขนาดการลงทุนที่ต่างกัน
v Internal Rate of Return (IRR) คืออัตราคิดลด หรือ Discount rate ที่ทำให้ NPV ของโครงการเป็นศูนย์ เมื่อคำนวณได้ IRR แล้วให้นำมาเปรียบเทียบกับ Required rate of return ที่ต้องการ หากสูงกว่าก็สามารถลงทุนได้
v อื่นๆ เช่น Economic Value Added (EVA), Benefit-to-cost Ratio
v Total Cost of Ownership (TCO) เป็นการคำนวณต้นทุนที่จะเกิดขึ้นตลอดอายุของการลงทุน เช่น Acquisition Cost, Operations Cost, Control Cost วิธีนี้อาจทำควบคู่ไปกับ Total Benefits of Ownership (TBO) เพื่อหาผลตอบแทนรวมที่จะได้รับ (Payoff = TBO - TCO)
v Benchmarks เป็นการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับบริษัทอื่น หรือค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมนั้นๆ
v Balanced Scorecard เป็นการประเมินผลงาน 4 ด้าน ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เช่น ด้านลูกค้า, ด้านการเงิน, ด้านกระบวนการภายใน, ด้านการเรียนรู้

No comments:

Post a Comment