Wednesday, December 1, 2010

Learning Journal Week 4


By ดารินทร์ อิงควงศ์ 5202113147
ปัจจุบันองค์กรส่วนหนึ่งมีการ outsource งานด้านระบบข้อมูลสาระสนเทศและเทคโนโลยีไปให้แก่องค์กรภายนอกเป็นผู้ดูแล ติดตั้ง รักษาระบบ  อย่างไรก็ตามในการ outsource งานใดๆ ให้แก่องค์กรภายนอกแม้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและปริมาณงานลง แต่ควรคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นดังนี้
·         Shirking – Vendor อาจให้บริการแก่เราไม่เป็นไปตามที่ตกลงไว้
·         Paching – vendor อาจนำสินค้าและบริการที่ผลิตให้แก่เราไปให้บริการแก่บริษัทอื่นๆ
·         Opportunistic repricing-  อาจเผชิญกับความเสี่ยงที่ Vendor จะขอเปลี่ยนแปลงราคาไปจากเดิมที่ตกลงร่วมกันไว้ เมื่อมีการปรับเปลี่ยนspec ไปจากที่ตกลงกัน
นอกจากนี้ แม้การ outsource จะดูเสมือนว่ามีต้นทุนต่ำ อย่างไรก็ตามอาจมีต้นทุนแฝงที่ไม่ได้ถูกนำมาพิจารณาดังนี้
·         ต้นทุนในการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ vendor แต่ละราย
·         ค่าใช้จ่ายในการติดต่อและทำสัญญากับ vendor
·         ค่าใช้จ่ายในการส่งมอบงาน
·         ค่าใช้จ่ายในการบริหารความสัมพันธ์กับ outsource
·         ค่าใช้จ่ายในการ transition back
Offshore Outsourcing คือการ outsource งานใดงานหนึ่งในองค์กรให้หน่วยงานในต่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการจัดการแทน
ประเด็นที่ต้องคำนึงถึงใน offshore outsourcingได้แก่
·         สภาพแวดล้อมด้านธุรกิจและการเมืองในประเทศที่จะ outsource
·         คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐาน
·         ความเสี่ยงอื่นๆ เช่น IT ทรัพยากรมมนุษย์ สภาพเศรษฐกิจ กฎหมาย และที่สำคัญ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
ความเสี่ยง ของ offshore outsourcingได้แก่
·         การแทรกแซงของภาครัฐ กฎระเบียบที่อาจเป็นอุปสรรค
·         ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
·         การโอนถ่ายความรู้
·         การหมุนเวียนของบุคคล
IT application acquisition
ประเด็นที่ต้องคำนึงถึง
·         ประเภทและขนาดอันหลากหลาย
·         Application มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
·         Application อาจเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย
·         เนื่องจาก IT Application มีความหลากหลายดังนั้นวิธีการที่ใช้ในการได้มาซึ่ง application เหล่านั้นจึงอาจแตกต่างกัน
ขั้นตอนในการได้มาซึ่ง IT Application
1.       วางแผน ระบุความต้องการ และประเมิน IT System ให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ
2.       วางโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT
3.       คัดเลือกวิธีการได้มา เช่น สร้างเอง ให้ vendor เป็นผู้วางระบบให้  เช่า ซื้อ หรือ ผสมผสานวิธีการต่างๆ
4.       ทดสอบ ติดตั้ง
5.       ดำเนินงาน บำรุงรักษษ และ update ระบบ
กรอบ 3 ประการของ IT Project Management คือ  Time Cost Performance ต้องบริหารทรัพยากรที่เรามีอยู่ให้อยู่ภายในกรอบ 3 ประการที่เรากำหนดไว้

Identifying Justifying Planning IT System Application
 สำรวจความต้องการภายในองค์กรเกี่ยวกับระบบ และประเมินเลือกโดยคำนึงถึงหลัก ต้นทุนและผลประโยชน์
Acquiring IT Application Available Option
Buy or Lease
ข้อดีของการ BUY
·         ประหยัดเวลาและต้นทุนเมื่อเปรียบเทียบกับการสร้างระบบเอง
·         ทราบอย่างแน่ชัดว่าจะได้รับอะไร
·         บริษัทไม่ใช่รายแรกและรายเดียวที่ใช้ระบบนี้
·         มี Vendor คอย update ระบบให้
·         ราคาถูก
ข้อเสีย
·         ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในท้องตลาดอาจไม่ตรงกับความต้องการของบริษัท
·         ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปอาจไม่ยืดหยุ่นพอเมื่อต้องการปรับเพิ่มบางฟังก์ชั่น
·         ซอฟต์แวร์ที่ได้มาอาจไม่เข้ากับระบบเดิมของบริษัท
·         Vendor อาจปลดซอฟต์แวร์นี้ออก และเลิกพัฒนาตลอดจนบำรุงรักษา
ทางเลือกอื่นๆ
·         SaaS การเช่าซอฟต์แวร์ซึ่งทำให้บริษัทมีความคล่องตัวด้านระบบสูง เมื่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ความต้องการของบริษัทเปลี่ยนแปลงไป หากเลือกใช้วิธีนี้ซอฟต์แวร์จะได้รับการ update อยู่เสมอโดย Vendor เป็นการลดความเสี่ยงที่ระบบ IT จะล้าสมัยและไม่รองรับความต้องการของบริษัทได้เป็นอย่างดี
·         Inhouse Developing ค่อนข้างใช้เวลาและต้นทุนสูง มีหลายรูปแบบ เช่น SDLC Prototyping Web2.0 End user development

Business Process Redesign
BPR  อาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการเพียงกระบวนการเดียวหรือมากกว่านั้น  BPM เกี่ยวข้องกับ flow งานทั้งหมด ตั้งแต่ระบบระหว่างคน ระหว่างระบบ และระหว่าง คนและระบบ
Major Managerial Issues
·         Global and cultural
·         Ethical &Legal issues
·         User Involvement เป็นสิ่งสำคัญ
·         Change Management
·         Risk Management

No comments:

Post a Comment